VISUAL SYMBIOSIS
VISUAL SYMBIOSIS / KAIJU-FICTION
Visual symbiosis: In Special Region of Yogyakarta October 18-24, 2019
Visual symbiosis: In Special Region of Yogyakarta October 18-24, 2019
Curated by
Ugrid Jomyim
/
KHONKAEN MANIFESTO
ผลงานคัดเลือกจาก
Visual Symbiosis Project
ด้วยความร่วมมือกับสาขาศิลปะภาพถ่ายและสื่อทัศนภาพ วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต (Department of Photography and Visual Media, College of Design, Rangsit University) และ
KHONKAEN MANIFESTO
ได้มีโอกาสเดินทางไปแสดงงานที่เมืองยกยาการ์ตา เขตปกครองพิเศษของประเทศอินโดนีเซีย งานแสดงครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาลศิลปะ
Biennale Jogja 2019
ที่มีการจัดขึ้นทุกๆสองปี และพวกเขาทั้งหมดได้รับโอกาสเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Khonkaen Manifesto ที่ได้เข้าไปสถาปนาสุนทรียศาสตร์แห่งการต่อต้าน ในพื้นที่อาคารเก่าหลังหนึ่งซึ่งในอดีตเคยเป็นร้านทองในย่าน
Ketandan
ที่เคยเป็นพื้นที่รุ่งเรืองทางด้านการค้าอัญมณีและทอง
ในการทำงานครั้งนี้พวกเขาได้นำเสนอผลงานทั้งภาพถ่าย วิดีโออาร์ต และงานสารคดี เสียงที่พวกเขาพยายามส่งออกไปผ่านพื้นที่ศิลปะในครั้งนี้ เกือบทั้งหมดเป็นการตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากการยึดอำนาจรัฐของกองทัพ ผลกระทบต่อการสร้างเขื่อน รวมถึงสภาวะความอึดอัดที่ต้องผจญในสังคมยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะงานของ จตุพร ไทยเครือวัลย์ (Jatuporn Thaikruewan / Vedeo Art) ที่เป็นตัวแทนเสียงกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่ไม่พอใจการทำงานของรัฐบาลเผด็จการในปัจจุบัน จตุพรได้เข้าไปบันทึกภาพงานแสดงคอนเสิร์ตกลุ่มศิลปิน underground แนวดนตรีเมทัล ที่แผดเสียงบทเพลงที่เยาะเย้ยถากถางผู้นำในรัฐบาลปัจจุบัน แล้วผนวกกับเสียงท่านผู้นำทุกวันศุกร์มาเติมเต็มงานของเขาให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ในตอนจบของงานถึงแม้ว่าจะมีเสียงท่านผู้นำแทรกเข้ามา แต่เสียงของความไม่พอใจท่านผู้นำต่างหากที่ดังกึกก้องในผลงานของจตุพร
ในขณะที่งานของ
จตุพร ไทยเครือวัลย์
พูดถึงบริบททางการเมืองไทยในปัจจุบันที่เสรีภาพไม่ได้มีอยู่จริงตามคำอ้างของผู้นำสายสืบทอด งานของ จรรยาภรณ์ สีหาบุตร (Janyapon Seehabut) ได้กลับเข้าไปสู่พื้นที่ของความขัดแย้งในอดีตของพื้นที่เขื่อนราษีไศล ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนในยุคปัจจุบัน จรรยาภรณ์ได้เข้าไปสำรวจพื้นที่แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นงานเชิงสารคดีสั้นๆ ที่ถ่ายทอดเสียงและวิถีชีวิตของชุมชนให้ปรากฏในพื้นที่ศิลปะที่เมือง Yogyakarta ด้วย scene ของภาพที่เงียบสงบเสมือนหนึ่งว่าปัญหาในพื้นที่แห่งนี้เริ่มถูกกลบในเสียงที่เคยดังเงียบลงไปตามกาลเวลาของรัฐ
ส่วนงานของ ณัฐพล มาซา (Nattapol Masa) และ กานตพงศ์ เทศเนตร (Kantapong Tesnes) ทั้งคู่หยิบเอาเรือนร่างมาผสานกับเสียงดนตรีในแนว psychedelic rock เพื่อพูดถึงสภาวะของการถูกกดทับความสัมพันธ์ของความเป็นปัจเจกที่แสนจะอึดอัด กับสภาวะทางการเมืองและสังคมในปัจจุบัน ในงานนี้ทั้งคู่หยิบเอาเรือนร่างมาใช้ โดยการสลายรูปลักษณ์และสร้างเรือนลักษณ์ขึ้นมาใหม่เพื่อพูดถึงการปลกปล่อยจากสภาวะที่เป็นอยู่ แต่ก็ไม่สามารถที่จะนำพาความเป็นปัจเจกออกไปสู่พื้นที่แห่งเสรีภาพได้ โดยเฉพาะเมื่อมีเสียงดนตรี psychedelic rock เข้ามาเสริมในตัวผลงาน ยิ่งเป็นการตอกย้ำและตราตรึงเรือนร่างให้อยู่กับสภาวะที่เป็นอยู่ในสังคมปัจจุบัน ซึ่งทั้งสองคนที่กล่าวมาจะต่างจากงานของ ปีย์ สายแสงทอง (Pytt Saisangthong) ที่พูดถึงเรือนร่างของผู้หญิงที่ยังถูกกระหวัดรัดเลื้อยจากสัญญะของความเป็นชายผ่านภาพตัวแทนที่ศิลปินใช้งูเป็นสื่อ ในตัวผลงานศิลปินพยายามที่กล่าวถึงสภาวะของความเป็นหญิงที่เคยถูกกลบเสียงในอดีตจนถึงปัจจุบัน
สำหรับงานชิ้นสุดท้ายของ พีระพัฒน์ พรมพาน (Pheeraphat Promparn) ศิลปินที่หลงใหลความลึกลับของถ้ำ เขาได้เดินเข้าไปเพื่อบันทึกเสียงของหยดน้ำและร่องรองที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ เพื่อให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากธรรมชาติ แต่จะด้วยสถานการณ์อะไรก็ตามแต่ ศิลปินยังหยิบยกร่องรอยของลวดลายที่เกิดจากลายมือมนุษย์ที่ได้เข้าไปรุกรานและฝากร่องรอยไว้ เสมือนว่าพวกเขาเป็นเจ้าของพื้นที่สาธารณะอันลึกลับนั้นเสียเอง ซึ่งตรงนี้อาจจะเกิดจากจิตใต้สำนึกบางอย่าง ที่ดำดิ่งวนเวียนว่ายของการไม่ลืมกำผึดของพวกเขาเอง ที่ครั้งหนึ่งเมื่อหลายพันปีมาแล้วได้อาศัยถ้ำอยู่
ที่กล่าวถึงงานของศิลปินมาทั้งหมดในที่นี้ เราจะเห็นได้ว่าพื้นที่ของศิลปะนั้น สามารถที่จะปลดปล่อยอุดมการณ์และสร้างแนวคิดบางอย่าง ก่อให้เกิดสภาวะการถกเถียงและการแตกกระจายไปสู่พื้นที่อื่นๆ ได้ รวมถึงยังสามารถเชื่อมโยงปัญหาจากพื้นที่หนึ่งไปสู่ผู้คนในพื้นที่อื่นๆ ได้ร่วมคบคิดและถกเถียงกันได้ ภายใต้สภาวะของการก้าวข้ามพรมแดนของภาษา
Biennale Jogja XV Equator #5 Dates: October 20 – November 30, 2019 / Venues: Yogyakarta Cultural Park, Jogja National Museum, other places around Yogyakarta / Khonkaen Manifesto
—--
ABOUT VISUAL SYMBIOSIS PROJECT
VISUAL SYMBIOSIS / KAIJU-FICTION